ปักกิ่ง, 4 มี.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ (SCMP) รายงานว่าคณะนักวิจัยทางการแพทย์พบตู้แช่แข็งของห้องปฏิบัติการในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา และท่อระบายน้ำชลประทานของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในไทย ไม่ใช่สถานที่แกะรอยต้นกำเนิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

คณะนักวิจัยจากสถาบันปาสเตอร์ (Institut Pasteur) ในกัมพูชา ศึกษาตัวอย่างที่เก็บจากค้างคาวมากกว่า 400 รายการ และเก็บรักษาไว้ในตู้แช่แข็งของธนาคารทรัพยากรชีวภาพ พบว่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวอายุนับสิบปีรายการหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Sars-CoV-2) ที่ก่อโรคโควิด-19 ถึงร้อยละ 92.6 จึงนับเป็นหนึ่งในเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มแรกที่ถูกค้นพบนอกจีน

อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยของกัมพูชาไม่พบข้อบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวรายการดังกล่าว ทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ เหมือนเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ด้านผลการศึกษาอีกฉบับของคณะนักวิจัยในไทย ซึ่งเก็บตัวอย่างจากค้างคาวที่อาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำชลประทานของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่ง จำนวน 100 ตัว พบเชื้อไวรัสโคโรนารายการหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ถึงร้อยละ 91.5 ในระดับทั้งจีโนม

หวังหลินฟา ผู้อำนวยการโครงการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สังกัดโรงเรียนแพทย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และมหาวิทยาลัยดุ๊กแห่งสหรัฐฯ (Duke-NUS Medical School) ในสิงคโปร์ เผยว่าผลตรวจเลือดแสดงข้อบ่งชี้ค้างคาวบางส่วนเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อโรคโควิด-19 มากกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาที่พบในไทย

รายงานระบุว่าการค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนาที่เชื่อมโยงกับโรคโควิด-19 กระจายตัวเป็นวงกว้างในเอเชีย โดยหวังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสโคโรนาในบรรพบุรุษค้างคาวหรือเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ตัวกลาง ซึ่งอาจเป็นต้นตอเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มีแนวโน้มอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีค้างคาวชุกชุมมากกว่าในจีน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.