(ภาพจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน : ภาพกล้องจุลทรรศน์แสดงด้วงดอกไม้ปีกสั้นที่พบในฟอสซิลอำพันยุคครีเทเชียสตอนกลางจากเหมืองทางตอนเหนือของ เมียนมา)

หนานจิง, 15 เม.ย. (ซินหัว) — ทีมนักบรรพชีวินวิทยาของจีนและสหราชอาณาจักรค้นพบฟอสซิลอำพันยุคครีเทเชียสตอนกลางของด้วงดอกไม้ปีกสั้น ซึ่งมีละอองเรณูติดอยู่กับลำตัวและเชื่อว่าเป็นหนึ่งในแมลงผสมเกสรไม้ดอกที่เก่าแก่ที่สุด

ไช่เฉินหยาง นักวิทยาศาสตร์ผู้นำการวิจัย ระบุว่าฟอสซิลดังกล่าวถูกขุดพบจากเหมืองทางตอนเหนือของเมียนมา มีคอปโปรไลต์ (Coprolite) หรืออึดึกดำบรรพ์รูปทรงกระบอก 2 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยละอองเรณูเป็นหลัก

ละอองเรณูในฟอสซิลดังกล่าวคล้ายคลึงกับละอองเรณูที่พบในแอสเทอริด (asterids) และโรสิด (rosids) ส่วนกายวิภาคศาสตร์ของด้วงมีลักษณะคล้ายคลึงกับแมลงยุคใหม่ บ่งชี้ว่าด้วงตัวนี้รับหน้าที่ผสมเกสรพืชดอกเมื่อราว 100 ล้านปีก่อน

ไช่เสริมว่าทีมวิจัยดำเนินการศึกษาฟอสซิลอำพันมากกว่า 25,000 ชิ้น และพบฟอสซิลอำพันเพียงหนึ่งชิ้นที่มีด้วงสภาพสมบูรณ์ยอดเยี่ยมเช่นนี้

อนึ่ง ผลการศึกษาทั้งหมดถูกเผยแพร่ผ่านวารสารเนเจอร์ แพลนท์ส (Nature Plants) เมื่อวันจันทร์ (12 เม.ย.) ที่ผ่านมา

(ภาพจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน : ภาพกล้องจุลทรรศน์แสดงด้วงดอกไม้ปีกสั้นที่พบในฟอสซิลอำพันยุคครีเทเชียสตอนกลางจากเหมืองทางตอนเหนือของ เมียนมา)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.