(แฟ้มภาพซินหัว : จามรีป่าที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติเชียงถางในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 25 ก.ย. 2021)

ปักกิ่ง, 15 ก.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนเผยกลไกทางพันธุกรรมและระดับเซลล์ที่อยู่เบื้องหลังการปรับตัวของจามรีเข้ากับสภาพแวดล้อมออกซิเจนต่ำ

จามรีป่าและจามรีเลี้ยงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนที่สูงของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ขณะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างถิ่น ซึ่งรวมถึงมนุษย์ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจอย่างรุนแรงเมื่อเผชิญภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxia) บนที่ราบสูง

ทีมวิจัยจากสถาบันชีววิทยาที่ราบสูงตะวันตกเฉียงเหนือ (NWIPB) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ได้รวบรวมจีโนมระดับโครโมโซมสองชุดจากจามรีป่าและจามรีเลี้ยง และคัดกรองตัวแปรเชิงโครงสร้าง (SV) ผ่านข้อมูลการถอดรหัสสายยาวของจามรีและวัวควาย

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) เผยว่ายีน 127 ตัวที่มีตัวแปรเชิงโครงสร้างชนิดพิเศษจะแสดงออกแตกต่างกันในปอดของวัวควายและจามรี ต่อมานักวิจัยพบเซลล์บุผนังหลอดเลือดชนิดย่อยที่พบเฉพาะในจามรี ซึ่งแสดงออกในยีนที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมออกซิเจนต่ำ

อนึ่ง การค้นพบนี้มอบข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับการปรับตัวบนที่สูงของจามรี และมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจการตอบสนองทางสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาต่อภาวะพร่องออกซิเจนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่และมนุษย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.