(แฟ้มภาพซินหัว : ปะการังในทะเลนอกชายฝั่งเกาะอู๋จือโจว เมืองซานย่า มณฑลไห่หนานทางตอนใต้ของจีน วันที่ 29 เม.ย. 2020)

ปักกิ่ง, 25 ส.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (24 ส.ค.) หนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี ของจีน รายงานว่าระบบตรวจจับแบบเคลื่อนที่ใต้ทะเล “ไห่เจ๋อ” (Haizhe) หรือ “แมงกะพรุน” ซึ่งจีนพัฒนาเอง ได้เสร็จสิ้นการทดสอบในทะเลลึก 3,000 เมตร บริเวณพื้นที่ที่มีก๊าซมีเทนรั่วซึมของทะเลจีนใต้ และผ่านการยอมรับแล้ว

รายงานระบุว่าระบบดังกล่าวที่มีจุดเด่นด้านการตรวจจับในแหล่งกำเนิด การเก็บตัวอย่างน้ำทะเล น้ำในโพรง และตะกอน ตลอดจนการขนส่งและทดสอบแบบไม่ทำลาย สามารถทำงานในทะเลส่วนใหญ่ที่ระดับความลึกสูงสุดมากกว่า 3,000 เมตร

ทั้งนี้ ระบบตรวจจับแบบเคลื่อนที่ใต้ทะเลไห่เจ๋อ พัฒนาร่วมกันโดยกลุ่มสถาบันจีน ซึ่งรวมถึงสำนักสำรวจธรณีวิทยาทางทะเลกว่างโจว และมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.