(แฟ้มภาพซินหัว : วาฬนำร่องครีบสั้นในทะเลจีนใต้ วันที่ 27 มิ.ย. 2023)

ซานย่า, 18 ก.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ คณะนักวิจัยจีนจากห้องปฏิบัติการสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมและการใช้เสียงของสัตว์ทะเล ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใต้ทะเลลึก สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน พบวาฬอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ ระหว่างการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในน่านน้ำทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้

หลังจากเดินทางนาน 20 วัน ระยะทางกว่า 3,500 กิโลเมตร ทีมวิจัยได้กลับถึงเมืองซานย่าของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา

นักวิจัยผสมผสานการสังเกตด้วยสายตา และการตรวจสอบด้วยเสียงแบบพาสซีฟ (PAM) พร้อมกับเก็บดีเอ็นเอสิ่งแวดล้อมระหว่างการวิจัย โดยทีมนักวิจัยสังเกตเห็นวาฬอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงวาฬดำน้ำลึก 10 สายพันธุ์ และโลมา 5 สายพันธุ์ที่อาศัยไกลออกไปในทะเล

(แฟ้มภาพซินหัว : คณะนักวิจัยจีนทำการสังเกตด้วยสายตาระหว่างการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในทะเลจีนใต้ ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มิ.ย. 2023)

การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ครั้งล่าสุดนี้มอบหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของวาฬที่อุดมสมบูรณ์ภายในน่านน้ำที่สำรวจ โดยในฐานะสัตว์ชนิดพันธุ์เรือธง (flagship species) ของระบบนิเวศทางทะเล วาฬเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นและมีคุณค่าด้านการวิจัยเป็นอย่างมากสำหรับการปกป้องสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในทะเลจีนใต้ให้ดียิ่งขึ้น

ห้องปฏิบัติการฯ จัดการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในทะเลจีนใต้ 6 ครั้ง เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2019 โดยคาดว่าผลลัพธ์การวิจัยจะเป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์และหายากในน่านน้ำดังกล่าวต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.