165 views

ฉางชุน, 21 ก.ค. (ซินหัว) — ทีมวิจัยด้านรถไฟของไทยเดินทางเยือนจีนเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการขนส่งทางราง พร้อมมุ่งกระชับความร่วมมือด้านระบบขนส่งทางรางระหว่างสองประเทศ

เมื่อไม่นานนี้ บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ วีฮีเคิลส์ จำกัด ซึ่งเป็นฐานผลิตรถไฟความเร็วสูงแห่งสำคัญของจีน ได้ต้อนรับคณะบุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางของไทย 7 แห่ง จำนวน 26 คน ซึ่งเดินทางเยือนจีนเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง

นพณัฐ ตีระพงศ์ไพบูลย์ วิศวกรระบบรถไฟของบริษัท เอเชีย ไทมส์ นัมเบอร์วัน จำกัด (Asia Times No. 1) ซึ่งได้นั่งรถรางไฟฟ้า (EMU) อัจฉริยะ “ฟู่ซิง” (Fuxing) ระบุว่ารถไฟความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าจีนมีเทคโนโลยีขั้นสูงมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมระดับโลก

จีนและไทยมีประวัติศาสตร์ความร่วมมือด้านระบบขนส่งทางรางมายาวนาน โดยซีอาร์อาร์ซีจัดสรรรถไฟในเมือง 164 ขบวน และตู้โดยสาร 115 ตู้ แก่ไทยนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่มีคุณภาพแก่ผู้โดยสารท้องถิ่นและสร้างชื่อเสียงที่ดีในหมู่ชาวไทย โดยฝ่ายไทยได้ส่งจดหมายขอบคุณหลายครั้ง พร้อมชื่นชมประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์และบริการจากซีอาร์อาร์ซี

นอกจากนั้นเหล่านักศึกษาไทยยังเข้าไปสัมผัสแหล่งผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีนในนครฉางชุนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของจีนด้านอุปกรณ์ทางราง และปัจจุบันผลิตรถไฟความเร็วสูงราวร้อยละ 40 ของประเทศ โดยนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนคำถามที่น่าสนใจกับวิศวกรของซีอาร์อาร์ซี ณ ฐานการผลิตรถไฟความเร็วสูงและฐานการผลิตรถไฟในเมืองของบริษัทฯ

ซีอาร์อาร์ซีมีส่วนร่วมในโครงการฝึกอบรมด้านการรถไฟไทยในจีนอย่างแข็งขันตลอดหลายปีที่ผ่านมา และประสบความสำเร็จจากการบรรยาย การเยือน และการหารือ พร้อมร่วมส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านรถไฟจีน-ไทย ตลอดจนเสริมสร้างและพัฒนามิตรภาพจีน-ไทย

นพณัฐระบุว่าจีนประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านรถไฟความเร็วสูง พร้อมหวังว่าจีนและไทยจะมีความร่วมมือด้านการขนส่งทางรางต่อไปในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.