(ภาพจากมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งหนานจิง : ตัวอย่างอุปกรณ์นาโนดีเอ็นเออัจฉริยะในนครหนานจิง มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน วันที่ 10 มี.ค. 2024)

หนานจิง, 11 มี.ค. (ซินหัว) — ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งหนานจิง (NJUPT) ได้พัฒนาอุปกรณ์นาโนดีเอ็นเออัจฉริยะสำหรับการละลายลิ่มเลือด ซึ่งสามารถค้นหาลิ่มเลือดและจ่ายยาอย่างแม่นยำโดยอัติโนมัติ

รายงานระบุว่าทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยีเรียงดีเอ็นเอมาประสานแผ่นนาโนดีเอ็นเอกับตำแหน่งจับยาละลายลิ่มเลือด (tPA) ที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า และตัวยึดดีเอ็นเอที่ไวต่อทรอมบิน (thrombin) หรือการแข็งตัวของเลือด โดยตัวยึดดังกล่าวมีโครงสร้างดีเอ็นเอสามสายประสานกัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ทรอมบิน ตัวควบคุม และสวิตช์เปิด

วังเหลียนฮุย สมาชิกทีมนักวิจัย ระบุว่ายาละลายลิ่มเลือดเปรียบเสมือนดาบสองคม อาจเป็นอันตรายหากใช้ไม่ถูกต้อง โดยยาดังกล่าวอาจละลายไฟบริน (fibrin) ในบาดแผลปกติอย่างมั่วซั่ว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวผิดปกติของเลือด ซึ่งในกรณีรุนแรงอาจส่งผลให้บาดแผลเปิดและมีเลือดออก

ทว่าอุปกรณ์นาโนนี้สามารถตรวจสอบว่าพวกมันอยู่ใกล้ลิ่มเลือดหรือบาดแผลปกติโดยอ้างอิงความเข้มข้นของทรอมบิน โดยหากความเข้มข้นของทรอมบินสูง เป็นไปได้ว่าบริเวณนั้นมีลิ่มเลือดอุดตัน และอุปกรณ์จะปล่อยยาละลายลิ่มเลือดออกมา

ทีมนักวิจัยเสริมว่าอุปกรณ์นี้สามารถย่อยสลายและถูกเผาผลาญในร่างกายมนุษย์ และคาดว่าจะเป็นแนวทางใหม่ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดสมอง

อนึ่ง ผลการศึกษานี้เผยแพร่ผ่านวารสารเนเจอร์ แมทีเรียลส์ (Nature Materials)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.