(แฟ้มภาพซินหัว : จรวดขนส่งไคว่โจว-1เอ ซึ่งบรรทุกดาวเทียมเทียนสิง-1 02 ทะยานออกจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 11 ม.ค. 2024)

ปักกิ่ง, 13 มี.ค. (ซินหัว) — บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน (CASC) รายงานการเร่งพัฒนาจรวดแบบใช้ซ้ำได้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร และ 5 เมตร โดยมีกำหนดปล่อยครั้งแรกในปี 2025 และปี 2026

รายงานระบุว่าการผลิตจรวดแบบใช้ซ้ำได้ขนาดใหญ่สองรุ่นนี้มุ่งตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดอวกาศเชิงพาณิชย์ เนื่องด้วยจรวดประเภทนี้มีความคุ้มค่า ประสิทธิภาพสูง ความซับซับซ้อนทางเทคนิค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หวังเวย หัวหน้าฝ่ายการวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ชี้ว่าแม้มีความท้าทายทางเทคนิค แต่การพัฒนาจรวดสองรุ่นนี้ช่วยให้เข้าใกล้การจัดตั้งตลาดปล่อยยานอวกาศเชิงพาณิชย์ขึ้นอีกหนึ่งก้าว

อนึ่ง สมุดปกน้ำเงินว่าด้วยสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศของจีนระบุว่าจีนปล่อยยานอวกาศเชิงพาณิชย์ในปี 2023 รวม 26 ครั้ง ซึ่งมีอัตราความสำเร็จสูงถึงร้อยละ 96 และจีนได้พัฒนาและใช้งานดาวเทียมเชิงพาณิชย์ทั้งหมด 120 ดวง คิดเป็นร้อยละ 54 ของดาวเทียมทั้งหมดที่ส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี 2023

นอกจากนั้นการก่อสร้างฐานปล่อยหมายเลข 1 ของศูนย์ปล่อยยานอวกาศเชิงพาณิชย์ระดับนานาชาติในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีนเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังเร่งก่อสร้างฐานปล่อยหมายเลข 2 ในปัจจุบัน โดยฐานปล่อยแต่ละแห่งจะสามารถทำภารกิจ 16 ครั้งต่อปี

หวังเสริมว่าการรวมอุตสาหกรรมอวกาศเชิงพาณิชย์ไว้ในรายงานการปฏิบัติงานของรัฐบาลในปีนี้กระตุ้นความเชื่อมั่นในการพัฒนาของอุตสาหกรรมดังกล่าวที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และถือเป็นหนึ่งในพลังการผลิตที่มีคุณภาพใหม่ ซึ่งสามารถส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของจีนอย่างรอบด้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.