(แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวของสถาบันอาชีวศึกษานานาชาติล้านช้าง-แม่โขง สังกัดมหาวิทยาลัยชนชาติอวิ๋นหนาน กำลังพูดแนะนำบ้านเกิดระหว่างการศึกษาแลกเปลี่ยนในไทย)

คุนหมิง, 26 มี.ค. (ซินหัว) — มหาวิทยาลัยชนชาติอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เปิดเผยว่าสถาบันอาชีวศึกษานานาชาติล้านช้าง-แม่โขง สังกัดมหาวิทยาลัยฯ ได้ฝึกอบรมนักศึกษาผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง จำนวน 1,232 คน เมื่อนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา โดยนักศึกษาส่วนหนึ่งยังได้เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีส่วนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

เส้าเหวยชิ่ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าสถาบันฯ อาศัยทรัพยากรและสภาพแวดล้อมการดำเนินงานแบบเปิด เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนแบบ “วิชาชีพ+ภาษาที่ไม่สากล” เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมนักศึกษาทั้งหมด โดยความพยายามอย่างต่อเนื่องนับสิบปีได้บรรลุผลลัพธ์ความสำเร็จแล้ว พร้อมหวังว่าคณะอาจารย์และนักศึกษาของสถาบันฯ จะเป็นตัวอย่างจุดเด่นของการศึกษาล้านช้าง-แม่โขง รวมถึงเดินหน้าแลกเปลี่ยนและร่วมมือกับห้าประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงต่อไป

อู๋ฮว่าอวี่ คณบดีสถาบันฯ กล่าวว่าการเรียนการสอนแบบ “วิชาชีพ+ภาษาที่ไม่สากล” จะถูกพัฒนาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเพื่อผลิตผู้มีความรู้ความสามารถโดดเด่นที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางและทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โดยมีนักศึกษาได้เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง จำนวน 497 คน ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง และมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

อนึ่ง มีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาชีพที่ไม่ใช้ภาษาสากลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการสอบวัดความรู้ทางวิชาชีพที่ไม่ใช้ภาษาสากลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งอวิ๋นหนาน ตั้งแต่ปี 2022 โดยมีการจัดสอบใน 5 ภาษา ได้แก่ ไทย ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม โดยนักศึกษาจะได้รับใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ด้านภาษาขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าสอบในอวิ๋นหนานรวม 534 คนแล้ว

(แฟ้มภาพซินหัว : อาจารย์สอนวิชาภาษาลาวกำลังแนะนำนักศึกษาชาวลาวเกี่ยวกับสาขาวิชาเลขานุการ)
(แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษาเรียนรู้การทำแซนด์วิชขนมปังฝรั่งเศส)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.